การประยุกต์ใช้ ASSURE Model กับการสอนวิทยาศาสตร์

เนื้อหาเรื่อง การแยกสารด้วยวิธี Chomatography

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่


1. Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)


ลักษณะทั่วไป :  นักเรียนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ : ชาย 10 คน หญิง 15 คน

ลักษณะเฉพาะ :  

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาตร์พื้นฐาน เช่น การเคลื่อนที่ของสาร การละลายของสารในสารละลาย เป็นต้น
2. นักเรียนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือในการทดลอง
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์


2. State Objectives  (กำหนดวัตถุประสงค์)

1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการแยกสารโดยใช้วิธี Chomatogaphy (K)
2. นักเรียนสามารถทดลองและประดิษฐ์ดอกไม้ได้โดยใช้ วิธี Chomatogaphy (P)
3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนเรื่อง การแยกสารโดยใช้วิธี Chomatogaphy (A)


3. Select instructional methods, media, and materials (การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่)

3.1. เลือกจากสื่อที่มีอยู่แล้ว  : วิดีโอวิธีการทดลองเรื่อง ดอกไม้กระจายสี วิทย์ฯ ป.6 จากช่อง DLIT Resources คลังสื่อการสอน บน Youtube


3.2. ออกแบบสื่อใหม่ : ให้นักเรียนทดลองโดยเตรียมเครื่องมือในการทดลอง เช่น กระดาษกรอง  สี  บีกเกอร์  ตัวทำละลาย เป็นต้น


               

4. Utilize Materials  (ใช้สื่อ)

1. เตรียมอุปกรณ์การทดลอง
2. เปิดวิดีโอวิธีการทดลองให้นักเรียนดู
3. ให้นักเรียนทำการทดลองและบันทึกผลการทดลองในตารางบันทึกผล
4. แสดงผลงานนักเรียนแต่ละกลุ่ม
5. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลอง และมีการสนทนาถาม-ตอบ
6. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปบทเรียน
7. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน




5. Require Learner Response (กำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)


5.1. เมื่อนักเรียนกลุ่มใดตอบคำถามได้ ครูจะให้รางวัลด้วยดอกไม้ 1 ดอกต่อคำถาม เมื่อจบคาบครูรวบรวมจำนวนดอกไม้และให้คะแนนโบนัสกับกลุ่มที่มีจำนวนดอกมากที่สุดและให้คะแนนกลุ่มที่ได้รองลงมาด้วยคะแนนที่น้อยลงตามลำดับ
5.2. มีการเขียนคำถามและคำตอบของคำถามลงบนกระดานทุกครั้ง
5.3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีเวลาคิดและตอบคำถาม

6. Evaluation (ประเมินผล)

6.1. ประเมินผลโดยให้คะแนนใบงาน เช่น

ระดับคะแนน
ระดับคุณภาพ
มากกว่า 8 คะแนน
ดี
5-8 คะแนน
ปานกลาง
น้อยกว่า 5 คะแนน
ควรปรับปรุง

6.2. ประเมินผลจากแบบทดสอบหลังเรียน เช่น

ระดับคะแนน
ระดับคุณภาพ
มากกว่า 8 คะแนน
ดี
5-8 คะแนน
ปานกลาง
น้อยกว่า 5 คะแนน
ควรปรับปรุง

6.3. ประเมินผลโดยการสังเกตระหว่างการทำการทดลอง  เช่น มีหัวข้อการสังเกตและให้คะแนนแล้วมีตารางเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้

คะแนน
ระดับคุณภาพ
มากกว่า 5 คะแนน
ผ่าน
น้อยกว่า 5 คะแนน
ไม่ผ่าน

5.4. ประเมินผลจากการตอคำถามของนักเรียน เช่น ให้คำถามละ 1 คะแนน หรือให้คะแนนกลุ่มที่ตอบคำถามทั้งกลุ่ม โดยให้เป็นสิ่งของ เช่น ดอกไม้โครมาโทกราฟี เป็นต้น

      นอกจากจะมีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนแล้ว ในขั้นตอนนี้ยังต้องมีการประเมินผลของการใช้สื่อด้วยว่ามีความเหมาะสมต่อการใช้ในการเรียนการสอนหรือไม่  อาจดูจากความเข้าใจวิธีการทดลองจากการดูวิดิโอและประเมินการใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ในการทดลองร่วมด้วย หากมีความไม่เหมาะสมก็อาจจะมีการปรับปรุงแก้ไขในการสอนครั้งต่อไปได้
             
         

-END-

ความคิดเห็น